สภาพสังคม
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 11,729 คน แยกเป็นชาย 5,833 คน เป็นหญิง 5,896 คน ครัวเรือนทั้งสิ้น 3,823 ครัวเรือน ประชากรเพิ่มจากปี 2563 ในอัตรา 0.23 คน
ตำบล/หมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
ประชากร (เพศ) |
|
ชาย |
หญิง |
รวม |
ตำบลโนนแดง |
3,823 |
5,833 |
5,896 |
11,729 |
หมู่ที่ 1 |
185 |
317 |
315 |
632 |
หมู่ที่ 2 |
223 |
348 |
409 |
758 |
หมู่ที่ 3 |
117 |
215 |
238 |
453 |
หมู่ที่ 4 |
329 |
598 |
562 |
1,160 |
หมู่ที่ 5 |
351 |
437 |
428 |
865 |
หมู่ที่ 6 |
187 |
321 |
309 |
630 |
หมู่ที่ 7 |
216 |
394 |
410 |
804 |
หมู่ที่ 8 |
184 |
249 |
245 |
494 |
หมู่ที่ 9 |
253 |
337 |
341 |
678 |
หมู่ที่ 10 |
226 |
299 |
299 |
598 |
หมู่ที่ 11 |
89 |
159 |
150 |
309 |
ตำบล/หมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
ประชากร (เพศ) |
|
ชาย |
หญิง |
รวม |
หมู่ที่ 12 |
157 |
256 |
274 |
530 |
หมู่ที่ 13 |
147 |
165 |
159 |
324 |
หมู่ที่ 14 |
79 |
118 |
123 |
241 |
หมู่ที่ 15 |
115 |
164 |
186 |
350 |
หมู่ที่ 16 |
137 |
178 |
170 |
348 |
หมู่ที่ 17 |
235 |
374 |
356 |
730 |
หมู่ที่ 18 |
209 |
281 |
285 |
566 |
หมู่ที่ 19 |
228 |
378 |
372 |
750 |
หมู่ที่ 20 |
156 |
244 |
265 |
509 |
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนราษฎรในเขต อบต.โนนแดง ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 แยกเป็นพื้นที่ ( ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม)
ปี |
ประชากร (เพศ) |
ประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
2564 |
5,826 |
5,894 |
11,720 |
2563 |
5,820 |
5,877 |
11,697 |
2562 |
5,865 |
5,881 |
11,746 |
2561 |
5,839 |
5,892 |
11,731 |
2560 |
5,845 |
5,886 |
11,731 |
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนราษฎรในเขต อบต.โนนแดง ปี 2560 – 2565 แยกเป็นเพศ
( ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม)
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ช่วงอายุ |
ประชากร (เพศ) |
ชาย |
หญิง |
รวม |
เด็ก (ทารก – 17 ปี) |
1,127 |
1,101 |
2,228 |
วัยรุ่น (18 - 25 ปี) |
592 |
532 |
1,124 |
ผู้ใหญ่ (26 – 60 ปี) |
3,196 |
3,258 |
6,454 |
คนชรา (60 ปี ขึ้นไป) |
911 |
1,012 |
1,923 |
ตารางที่ 3 แสดงจำนวนราษฎรในเขต อบต.โนนแดง แยกช่วงอายุและเพศ
( ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม)
4. สภาพทางสังคม
การตั้งถิ่นฐาน องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง เป็นชุมชนชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ นิยมสร้างบ้านเป็นกลุ่มก้อน เป็นหมู่บ้าน ถนนเส้นหลัก ถนนสายบรบือ - นาเชือก ถนนบรบือ – นาดูน เป็นต้น
4.1 การศึกษา
1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 7 แห่ง คือ
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเหล่าตามา
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านหนองทุ่ม
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านดอนพยอม
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านป่ากุงหนา
6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านหนองแวง
7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านโนนแดง
2) โรงเรียนประถมศึกษา 9 แห่ง คือ
1. โรงเรียนบ้านโนนแดงมะขามหวาน
2. โรงเรียนบ้านหัวหนอง
3. โรงเรียนบ้านดอนพยอม
4. โรงเรียนบ้านเหล่าตามาอุดมชัย
5. โรงเรียนบ้านโคกกุง
6. โรงเรียนบ้านหนองทุ่มศรีโพธิ์ทอง
7. โรงเรียนบ้านศาลา
8. โรงเรียนบ้านโนนทองโนนธรรม
9. โรงเรียนบ้านป่ากุงหนานาเจริญ
3) โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนโนนแดงวิทยาคม
4.2 สาธารณสุข
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ปรชากรในชุมชน ได้แก่ โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก ตำบลโนนแดง มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หน่วยงานด้านสาธารณสุข ดังนี้
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตบล 2 แห่ง คือ
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านเหล่าตามา
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโนนทองโนนธรรม
2. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน 20 แห่ง (ทุกหมู่บ้าน)
3. กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลโนนแดง จำนวน 1 แห่ง
4.3 อาชญากรรม
ตำบลโนนแดง ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชนบ้างซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว ในช่วงวันหยุดได้จัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการประชาชนเพื่ออำนวยความสะดวก และพบว่าครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
บุคลากรทางด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล
- ป้อมตำรวจประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 204 คน
เจ้าหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน
ชุดปฏิบัติการอาสาภัยพิบัติองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 50 คน
4.4 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดที่ตำบลโนนแดง จากการที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอบรบือ ได้แจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบนั้น พบว่าในเขตพื้นที่มีผู้ติดยาเสพติดพอควร แต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าไม่มาก และยังไม่พบผู้ค้า พบแต่ผู้เสพ เหตุผลก็เนื่องมาจากได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน ที่ช่วยสอดส่องดูแลช่วยกันเป็นประจำ
4.5 การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้
1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
4. โครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
5. โครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุ
5. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
5.1 การนับถือศาสนา
ประชากรทั้งตำบลเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ เกือบทั้งหมด มีวัดในสังกัดสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 21 แห่ง ดังนี้
- วัดบ้านโนนแดง บ้านโนนแดง ม.1 ตำบลโนนแดง
วัดบ้านหัวหนอง บ้านหัวหนอง ม.2 ตำบลโนนแดง
3. วัดป่าบ้านไร่ บ้านหัวหนอง ม.2 ตำบลโนนแดง
4. วัดบ้านหนองแวง บ้านหนองแวง ม.3 ตำบลโนนแดง
5. วัดบ้านดอนพยอม บ้านดอนพะยอม ม.4 ตำบลโนนแดง
6.วัดบ้านเหล่าตามา บ้านเหล่าตามา ม.5 ตำบลโนนแดง
7. วัดบ้านโคกกุง บ้านโคกกุง ม.6 ตำบลโนนแดง
8. วัดป่าบ้านโคกกุง บ้านโคกกุง ม.6 ตำบลโนนแดง
9. วัดบ้านหนองทุ่ม บ้านหนองทุ่ม ม.7 ตำบลโนนแดง
10. วัดบ้านศาลา บ้านศาลา ม.8 ตำบลโนนแดง
11. วัดป่าบ้านโนนทอง บ้านโนนทอง ม.9 ตำบลโนนแดง
12. วัดบ้านป่ากุงหนา บ้านป่ากุงหนา ม.10 ตำบลโนนแดง
13. วัดบ้านมะขามหวาน บ้านมะขามหวาน ม.11 ตำบลโนนแดง
14. วัดบ้านอุดมสินธุ์ บ้านอุดมสินธิ์ ม.12 ตำบลโนนแดง
15. วัดบ้านโนนสะอาด บ้านโนนสะอาด ม.13 ตำบลโนนแดง
16. วัดบ้านโนนสว่าง บ้านโนนสว่าง ม.14 ตำบลโนนแดง
17. วัดบ้านศรีโพธิ์ทอง บ้านศรีโพธิ์ทอง ม.15 ตำบลโนนแดง
18. วัดบ้านโนนหญ้าคา บ้านศรีโพธิ์ทอง ม.15 ตำบลโนนแดง
19. วัดบ้านอุดมชัย บ้านอุดมชัย ม.16 ตำบลโนนแดง
20. วัดป่าบ้านโนนธรรมโนนทอง บ้านโนนธรรม ม.17 ตำบลโนนแดง
21. วัดป่าบ้านโนนแดง บ้านโนนแดง ม.19 ตำบลโนนแดง
5.2 ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีวันสงกรานต์ วันผู้สูงอายุ เดือนเมษายน
- ประเพณีลอยกระทง เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
- ประเพณีบุญบั้งไฟ เดือนพฤษภาคม
5.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ทอเสื่อกก ทำขนมจากผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ
ภาษถิ่น ประชาชนใช้ภาษาอีสานเป็นหลัก
5.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
สินค้าพื้นเมือง คือ แตงโม และการแปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร
|
|